แพ้ยา กับ ผลข้างเคียงจากยา ต่างกันยังไง ?
หลายๆคนอาจจะเคยสับสนระหว่างการ “แพ้ยา” กับ “ผลข้างเคียงจากยา” เพราะคิดว่าเมื่อไหร่ที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา มักจะถูกเรียกรวมๆเรียกง่ายๆว่าเป็นอาการแพ้ยา แล้ว 2 อย่างนี้มันต่างกันอย่างไร ?ถ้าให้ว่ากันตามตรง
มาแล้วค่ะ สำหรับ Podcast ที่หลายๆคนรอคอย วันนี้หมอเอ้วแทคทีมพาหมอขวัญ มาชวนทุกๆคน มาพูดคุยกันใน เรื่องเล่าจากร่างกาย Podcast Podcast
[EP1] ถ้ามนุษย์เป็น omnivore จริง แล้วทำไมการกินเนื้อสัตว์จึงไม่ดีกับสุขภาพ?
🥩 Omnivore เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ถ้ามนุษย์เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แล้วทำไม เราจึงมักได้ยินว่าการกินไขมันจากสัตว์ กินเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง จึงไม่ดีกับสุขภาพ? แต่การกินผักผลไม้ เป็นการกินที่ดีกับสุขภาพ
[EP2] เรื่องราวที่น่าสนใจของการค้นพบวิตามิน C
💊 วิตามิน สารอาหารตัวเล็กๆแต่คุณค่ามหาศาล สิ่งสำคัญมากอีกอย่างสำหรับร่างกายมนุษย์ วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญ ไม่ได้แค่มาพูดคุยเรื่องวิตามินที่เรารู้จักกันทั่วๆไป แต่จะพาย้อนกลับไปถึงการกำเนิดและค้นพบ ว่าในแรกเริ่มนั้นนักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิตามินได้ยังไง? และเรื่องราวที่น่าสนใจของการค้นพบวิตามินซี ของเจมส์
[EP3] ทำไมมนุษย์ถึงสร้างวิตามินซีไม่ได้
🍊 ตอนที่แล้วเราเดินทางไปค้นพบการกำเนิดวิตามินไปแล้ว วันนี้เรามาต่อกันแบบไม่ให้ขาดช่วง มาต่อกับเจ้าวิตามินที่ทุกๆคนน่าจะคุ้นเคยกันดี อย่างเจ้าวิตามินซี วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะพามาทำความรู้จักเจ้าวิตามินซีให้มากขึ้นว่ามันมีหน้าที่ทำอะไรบ้าง และหน้าที่สำคัญของเจ้าวิตามินซี มีเพียงช่วยเรื่องความสวยความงาม เพิ่มภูมิต้านทานและป้องกันโรคหวัดเท่านั้นหรือ? แล้วทำไมมนุษย์จึงสร้าง
[EP4] ทำไมผู้หญิงและผู้ชายจึงคิดต่างกัน?
👩❤️👨 ทำไมผู้หญิงและผู้ชายจึงคิดต่างกัน? ต้อนรับวันแห่งความรัก วันนี้หมอเอวกับหมอขวัญจะมาชวนคุยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของอารมณ์ ทำไมผู้ชายถึงไม่เข้าใจผู้หญิง และผู้หญิงทำไมถึงไม่เข้าใจผู้ชาย ทำไมจึงมีพฤติกรรมและความคิดต่างกัน สิ่งใกล้ตัวเหล่านี้ที่เราอาจจะตั้งคำถามใส่กันในทุกๆวัน วันนี้เรามาไขคำตอบไปด้วยกันนะคะ
[EP5] Intermittent fasting (IF) x Avarin
เรื่องราวที่หลายๆคนรีเควสมากันอย่างล้นหลาม กับการลดน้ำหนักด้วยวิธี IF หรือ Intermittent fasting ที่เป็นที่นิยมกันอย่างมากในช่วงนี้ แล้วเจ้า IF ที่ว่ามันคือยังไง
[EP6] การจะพัฒนาวัคซีนมีขั้นตอนอะไรบ้าง x Ocylens
💉 การจะพัฒนาวัคซีนมีขั้นตอนอะไรบ้าง หลังจากทั่วโลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดใหญ่ของโรค Covid-19 แน่นอนว่าประเด็นที่น่าจับตามองและทั้งโลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้คงจะหนีไม่พ้นเรื่องเจ้าวัคซีนโควิด และขณะที่โลกมีวัคซีนหลายแบบถูกพัฒนาออกมาให้เลือกใช้ วันนี้หมอขวัญและหมอเอ้วจะมาพาไปมองย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ ความตื่นตาตื่นใจตั้งแต่เรามีวัคซีนตัวแรก ไปจนถึงขั้นตอนการพัฒนาวัคซีน ที่ในยุคแรกเริ่มนั้นยากลำบากมากกว่าที่คิด
[EP7] รู้ไหมว่าตับของคุณทำงานยังไง?
ในยุคที่คนหันมาสนใจเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยกันมากขึ้น แต่ในการที่เราจะเข้าใจภาวะความผิดปกติของร่างกายได้ ส่วนหนึ่งเราต้องเริ่มมาจากการเข้าใจก่อนว่าร่างกายคนเราตอนที่เป็นปกติเนี่ย มันทำงานอย่างไร? วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะพามาทำความเข้าใจ ใน Podcast เรื่องเล่าจากร่างกาย Episode ที่
[EP8] รู้หรือไม่ว่าตับอ่อนของคุณทำหน้าที่อะไรบ้าง?
จาก Episode ที่แล้ว หมอเอ้วกับหมอขวัญได้คุยเรื่องการทำงานของ “ตับ” กันไปแล้ว วันนี้เราขอมาลงลึกกันอีกสักนิดกับ “ตับอ่อน” อวัยวะที่หลายๆคนไม่ค่อยคุ้นเคย วันนี้เรามาลองรู้จักเจ้าอวัยวะที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของร่างกาย
[EP9] รู้จักหน้าที่และการทำงานของม้าม
เรื่องเล่าจากร่างกาย Podcast Episode นี้เราจะพามารู้จักกับหน้าที่และการทำงาน ของอวัยวะที่สามารถตัดออกไปจากร่างกายแล้วเราไม่ตาย!? อวัยวะเล็กๆที่เราเรียกว่า “ม้าม” นั่นเองค่ะ มาทำความรู้จักกันดีกว่าว่าเจ้าอวัยวะที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญแต่สำคัญนี้ ทำหน้าที่ดูแลอะไรเกี่ยวกับร่างกายของเราบ้าง
[EP10] กาแฟดีกับสุขภาพหรือไม่? x Timemore
☕️ กาแฟ เครื่องดื่มยอดฮิตอย่างกาแฟที่หลายต่อหลายคนโปรดปราน เจ้าเครื่องดื่มสุดป็อปปูล่าที่มีการถกเถียงกันมาเรื่อยๆเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของมัน วันนี้หมอเอ้วกับหมอขวัญจะพามารู้จักกับเจ้าเครื่องดื่มสุดโปรดของหลายๆคนตัวนี้ ทั้งสารที่พบในกาแฟที่ไม่ได้มีแค่คาเฟอีน อย่างที่หลายๆคนทราบ และผลการศึกษาของกาแฟเกี่ยวกับสุขภาพ ว่าแท้จริงแล้ว กาแฟ
[EP11] การวิ่งระยะไกลเหมาะกับร่างกายมนุษย์หรือไม่? x SLC
ในช่วงนี้หลายๆคนเหมือนจะฮิตการวิ่งมาราธอนกันใช่ไหมคะ Podcast Episode นี้ เราจะมาพูดถึงคำถามง่ายๆที่หลายๆคนอาจจะเคยความสงสัยว่าการวิ่งในระยะทางไกลแบบนี้ มันฝืนธรรมชาติของร่างกายเราหรือเปล่านะ? วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะมาอธิบายกลไกการทำงานของร่างกาย ย้อนไปตั้งแต่สมัยที่เรายังเดินสี่ขากันอยู่เลย ว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะกับการวิ่งระยะไกลจริงหรือไม่?
[EP12] ฝ่าเท้าทำให้มนุษย์ฉลาดกว่าลิงอื่นได้ยังไง? x Skechers GoWalk Arch Fit
ตั้งแต่เด็กๆเราได้เรียนกันมาว่ามนุษย์นั้นพัฒนา วิวัฒนาการมาจากลิง แต่เคยสงสัยกันไหมคะ อะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้มนุษย์วิวัฒนาการกลายมาเป็นมนุษย์ที่ต่างไปจากลิงอื่นๆ ? วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปของคำถามที่ว่านั้น ถึงส่วนที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์ต่างไปจากสัตว์อื่น ๆ และยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ จะเป็นอะไรนั้น
[EP13] ทำไมมนุษย์ถึงกินอาหารสุก
ในธรรมชาติ สัตว์อื่นๆเวลาล่าหาอาหารมาก็ล้วนแต่กินดิบได้เลยกันทั้งนั้น แล้วทำไมกันนะ มนุษย์เราถึงจึงต้องมีวิธีการปรุงอาหารที่ซับซ้อนไม่เหมือนสัตว์อื่นๆ วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะมาคุยถึงเรื่องราวการกินอาหารปรุงสุก พฤติกรรมแบบนี้นั้นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ หรือจริงๆแล้วมันเป็นแค่วัฒนธรรมกันแน่?
[EP.14] แพ้ยา กับ ผลข้างเคียงจากยา ต่างกันยังไง ?
หลายๆคนอาจจะเคยสับสนระหว่างการ “แพ้ยา” กับ “ผลข้างเคียงจากยา” เพราะคิดว่าเมื่อไหร่ที่มีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา มักจะถูกเรียกรวมๆเรียกง่ายๆว่าเป็นอาการแพ้ยา แล้ว 2 อย่างนี้มันต่างกันอย่างไร ?ถ้าให้ว่ากันตามตรง
[EP.15]ไม่มีเวลาออกกำลังกาย HIIT ช่วยได้
เชื่อว่าทุกวันนี้ทุกคนรู้และเชื่อว่าการออกกำลังกายนั้นสำคัญต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเวลาออกกำลังกายอย่างจริงจัง วันนี้หมอเอ้วและหมอขวัญจะพามารู้จักการออกกำลังกายในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า High-Intensity Interval Training หรือการออกกำลังกายอย่างหนักในช่วงเวลาสั้นๆ มันคืออะไร ไอเดียการออกกำลังกายแบบนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และช่วยร่างกายของเราในเรื่องอะไรบ้าง
[EP.16] รู้ไหมว่าภูมิคุ้มกันของคุณทำงานยังไง ?
วันนี้จะมาเล่าถึงระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ว่ามันคืออะไร และทำงานอย่างไร ?
[EP.17] รู้ไหมว่าภูมิคุ้มกันของคุณทำงานยังไง ? (ตอนจบ)
มาต่อกันที่ด่านที่ 2 (Innate immunity) และ ด่านที่ 3 (Adaptive/Acquired Immunity) ของระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันของร่างกาย
[EP18] การอักเสบ เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆได้อย่างไร? x SLC
การอักเสบ ภาวะที่ใครๆก็น่าจะรู้จักหรือคุ้นเคยกันดี แต่เคยได้ยินไหมคะว่ามีภาวการอักเสบที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคต่างๆ สารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน อ้วน ภูมิแพ้ อัลไซเมอร์ ไปจนถึงโรคหัวใจขาดเลือด
[EP19] ติดเชื้อ Covid-19 แต่ รพ. ไม่มีเตียง จะดูแลตัวเองที่บ้านยังไง? x SLC (ตอนที่ 1)
วันนี้หมอเอ้วกับหมอขวัญจะมาพูดคุยถึงวิธีการทำ Home Isolation จะมีวิธีรักษาตัวเองได้อย่างไรบ้าง? และหากสถานที่ที่เราอยู่ไม่สามารถกักตัวแยกจากผู้อื่นได้ จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เราแพร่เชื้อใส่ผู้อื่นได้อย่างไร
[EP20] ติดเชื้อโควิด แต่ รพ. ไม่มีเตียง จะดูแลตัวเองที่บ้านยังไง? x SLC (ตอนที่ 2)
ยังอยู่กับ Home Isolation ในตอนที่ 2 นี้หมอเอ้วกับหมอขวัญจะมาพูดคุยกับถึงวิธีการดูแลและรักษาตนเองในกรณีที่ต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน จะมีวิธีการการดูแลตนเอง รวมไปถึงการป้องกันการแพร่เชื้อใส่ผู้อื่นภายในบ้านอย่างไร?
[EP21] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 1)
เคยสงสัยไหมคะเวลาเราไปเที่ยวต่างประเทศ หรือที่ที่มีอากาศแห้ง เย็น เราถึงมีเลือดกำเดาออกง่ายขึ้น มีน้ำมูกมากขึ้น จมูกตัน หายใจไม่ค่อยออก แม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ หรือเรื่องที่เราสามารถหายใจได้ทั้งทางปากกับจมูก แล้วการหายใจทั้งสองทางนี่มันต่างกันยังไง
[EP22] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 2)
ในตอนที่ 2 นี้เราจะมาเริ่มหายใจกัน จะได้รู้กันว่าระบบนี้มันทำงานยังไง ทุกคนทราบไหมคะว่าอะไรที่เป็นตัวควบคุมการหายใจของเรา? แล้วการที่เราสามารถหายใจได้ทั้งทางปากกับจมูก ทั้งสองทางนี่มันต่างกันยังไง มีทางไหนที่ดีกว่าอีกทางหนึ่งหรือเปล่า มาทำความรู้จักกับปอดของเราและเรียนรู้กับว่าระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ทำงานอย่างไร
[EP23] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 3)
จากตอนที่แล้วเราคุยกันในเรื่องโครงสร้างของปอด และ กลไกการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่ จมูก หลอดลม ลงไปจนถึงปอด ซึ่งวันนี้เราจะลงไปอีกค่ะ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องของถุงลมที่อยู่ในปอดของเรากัน
[EP24] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 4)
ในวันนี้เราจะมาดูในภาวะที่ผิดปกติกันบ้าง เราจะคุยกันเรื่องของโรคปอดที่พบได้บ่อยและพบได้ใกล้ตัวอย่าง COPD (โรคปอดที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่นานๆ) และในช่วงที่เรายังมีโรค Covid ระบาดอยู่อย่างนี้ หลายๆคนคงอยากจะรู้ว่ากลไกที่เกิดขึ้นกับปอดในภาวะติดเชื้อเป็นยังไง
[EP25] รู้หรือไม่ว่าปอดของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 5)
เดินทางกันมาถึงตอนสุดท้ายของซีรี่ส์การทำงานของปอดและทางเดินหายใจ วันนี้เราจะมาคุยกันถึงภาวะติดเชื้อที่เกิดขึ้นในทางเดินหายใจ โดยเฉพาะที่ปอด หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ปอดบวม” นั่นเอง
[EP26] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 1)
มนุษย์มีหัวและระบบไหลเวียนเลือดไปเพื่ออะไร? เพราะไม่ใช่ว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะต้องมีหัวใจและหลอดเลือด แล้วมันมีวิวัฒนาการเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร? หัวใจของเราเต้นได้อย่างไร และ สมองมีบทบาทอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเต้นของหัวใจ
[EP27] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 2)
ในตอนนี้ที่ 2 นี้เรายังอยู่ที่เรื่องของหัวใจ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจว่า หัวใจของเราเต้นได้ยังไง? ระบบไฟฟ้าทำงานยังไง? และเรื่องเกี่ยวกับเส้นเลือดที่คอยเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อจะได้เข้าใจภาวะหัวใจขาดเลือดและเส้นเลือดตีบตันมากขึ้น
[EP28] รู้หรือไม่ว่าหัวใจของคุณทำงานอย่างไร? (ตอนที่ 3)
ในตอนนี้เราจะมาคุยกันถึงสิ่งที่เรียกว่า “ความดันเลือด” ความดันเลือดคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร? ทำไมบางครั้งการที่มีความดันเลือดสูงถึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย? และร่างกายของมนุษย์สามารถทำให้ความดันเลือดของเราคงที่อยู่ได้อย่างไร?