Chatchapolbook.com

สงกรามกรีก-เปอร์เซีย ตอนที่ 5 : กษัตริย์ Xerxes จัดทัพที่ใหญ่สุดในโลก

เรื่องย่อของตอนที่ 5

ถ้าต้องการสนับสนุนหรือเป็นกำลังใจ เลี้ยงกาแฟผมสักถ้วยก็ได้ครับที่ https://ko-fi.com/chatchapol

ชอบอ่านบทความประวัติศาสตร์อย่าลืมแวะไป https://www.blockdit.com/historybycha… หรือ https://www.facebook.com/HistorybyCha

ถ้าสนใจหนังสือแนววิทยาศาสตร์ที่ผมเขียน สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ https://www.lazada.co.th/shop/chatcha… หรือ https://shopee.co.th/cthada

Xersex รับภารกิจต่อจากพ่อ อธิบายว่า ทำไมยังต้องไปบุก แม้ว่ากรีกจะเล็กและอยู่ชายแดน ไม่สำคัญต่อเปอร์เซียมาก ตอบคือ เพราะต้องกำหราบ ไม่ให้เมืองขึ้นอื่นๆ เอาเป็นเยี่ยงอย่าง ต้องแสดงแสนญานุภาพให้กลัว ยกทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยเห็น แล้วกองทัพที่ยิ่งใหญ่ก็ต้อง มาคู่กับโปรเจคยักษ์ใหญ่ เหตุผลที่ Xerxes ต้องยกทัพใหญ่ 1 เพราะดึงทหารจากเมืองอื่นๆ มา เพื่อไม่ให้ฉวยโอกาสลุกขึ้นต่อต้านได้ 2 เพื่อให้ดูน่ากลัว ทำให้เลี่ยงการรบเล็กๆน้อยๆได้ กองทัพใหญ่เดินทัพช้าๆ เพื่อให้ข่าวนำไปก่อน คนเล่าก็จะเล่าเกินจริงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คนหนีไปจากเมือง หรือเกิดความกลัวจนแตกแยกในเมือง ชนะโดยไม่ต้องรบ ลดความเสียหาย การเตรียมทัพของ Xerxes น่าสนใจมาก เพราะเป็นกองทัพใหญ่มาก เดินเรือคงไม่ได้ ต้องเดินทัพไปบนแผ่นดิน แต่จะไปทางเดิมก็เสี่ยงเรือล่มอีก จึงต้องมีการเตรียมการล่วงหน้า 3 ปี สองเมกะโปรเจค 1 ขุดคลอง Mt. Athos ยาวสองกิโลเมตร 2 สร้างสะพานข้าม ดาร์ดาเนล หรือ เฮเลสสปอนท์ เอาเรือ 300 ลำมาผูกเรียงต่อกันข้ามทะเล แล้วยังปูพื้นให้ดูเหมือนพื้นดิน เพื่อไม่ให้สัตว์กลัว การขุดใช้นี้ ใช้ครั้งเดียว เขียนไว้โดย Herodotus คำถามคือ ทำจริงหรือเปล่า? คนโบราณก็ไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง แค่ไม่กี่ร้อยปีผ่านไปคนก็ไม่เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง จนมาถึงยุคปัจจุบัน เมื่อมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทางด้านธรณีวิทยา จึงพบร่องรอย ของการก่อสร้างเหล่านี้ Xerxer เดินทางมาถึง Sardis เกือบจะเข้าหน้าหนาว ก็เลยต้องตั้งแคมป์ แล้วรอฤดูใบไม้ผลิ เพื่อรบในแคมเปญใหม่ ชาวกรีกจึงพอมีเวลาให้ตั้งตัวอยู่หลายเดือน ส่วนชาวกรีก ก็ประชุมกัน เพื่อคุยกับว่าจะเอายังไง ใครจะต่อต้าน ใครจะยอมศิโรราบ นัดกันที่ Ishtmus of Corinth เป็นคอคอด เชื่อมกรีกทางตอนบนและตอนล่าง ตอนเหนือเช่น เอเธนส์ Thebes ทางตอนใต้ ก็ สปาร์ตา Corinth ทางใต้เรียกว่า Pelloponnese ปรากฎว่ามีนครรัฐที่จะต่อสู้แค่ สามสิบกว่านครรัฐจากเป็นพัน ตกลงกันว่าจะส่งสายลับไปสอดแนม ดูว่ากองทัพเปอร์เซียมีกำลังกล้าแข็งแค่ไหน ปรากฎโดนจับ แต่ก่อนจะโดนประหาร Xerxes ก็ห้าม แล้วให้พาทัวร์ กองทัพเรือ ทัพบก ทัพม้า แล้วปล่อยให้กลับไปเล่า สายลับก็กลับมาแจ้งให้รู้ว่ากองทัพเปอร์เซียใหญ่โตมโหฬาร Themistocles เป็นนักการเมือง และเป็นทหารชาวเอเธนส์ ย้อนเวลากลับไปหลายปีก่อนนั้น ช่วงเวลาที่ Xerxes กำลังขุดคลองสร้างสะพาน เอเธนส์ พบแร่เงิน จำนวนมาก มูลค่ามหาศาล เดิมตกลงกันว่า จะแบ่งส่วนแบ่งให้กับ พลเมืองทุกคน แต่ Themistocles เสนอว่า ควรจะนำเงินมาสร้างกองทัพเรือ จึงค่อยๆสร้างกองทัพเรือมาเรื่อยๆ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติคือ เมื่อมีงานใหญ่ก็จะต้องไปปรึกษา oracle ที่ Delphi หรือ ร่างทรงพยากรณ์ ว่าจะทำอย่างไรดี เมื่อไปถึง ร่างทรง คำตอบสั้นๆคือ หนี หนีไป ให้ไกลสุดขอบโลก เท่านั้นไม่พอ พูดจบ ตัวร่างทรงเองก็วิ่งหนีออกไปห้องเลย ตัวแทนที่มาพยากรณ์เดินออกมาจากวิหารอย่างงงๆ ว่าจะกลับไปบอกที่ประชุมยังไงดี คิดว่ากลับไปแบบนี้ไม่ได้ เป็นปกติ คำนายจะไม่บอกตรงๆ แต่จะเป็นคำใบ้ที่ต้องไปตีความ เหมือนเสี่ยงเซียมซี มันจะไม่ชัดเจน เลยไปต่อแถวเพื่อเข้าไปถามอีกรอบ ทำเหมือนเราเสี่ยงเซียมซีรอบสอง ครั้งนี้ได้คำตอบว่า เทพเจ้าซุส ไม่สามารถช่วยเอเธนส์ได้โดยตรง แต่ ซุส ให้อำนาจแต่เทพเจ้าอธีน่า ให้พวกเจ้าหลบอยู่หลังกำแพงไม้ กำแพงไม้จะสามารถยืนหยัดทนการรุกรานได้ ก็นำความนี้กลับไปที่ประชุมที่ Ishtmus of Corinth คำถามคือ กำแพงไม้ที่ว่าคืออะไร? แรกสุด คิดว่าอาจจะเป็นกำแพงไม้ ที่ล้อมรอบ อโครโปลิส หรือว่า จะให้อพยพผู้คนขึ้นไปหลบอยู่บนอโครโปลิส แต่ Themistocles ยืนขึ้นและบอกว่า ไม่ใช่ กำแพงไม้ที่ว่านั้นคือ กองทัพเรือ เพราะเรือทำจากไม้ สิ่งที่ ร่างทรงพยากรณ์ที่เดลไฟ บอกคือ ให้รบกับเปอร์เซียทางเรือ แม้ว่า กองทัพเรือเปอร์เซียจะใหญ่กว่า 4 เท่า และไม่เก่ง Themistocles เข้าใจว่า เปอร์เซีย อ่อนทางน้ำ และเข้าใจภูมิศาสตร์ รู้ว่ามีบริเวณที่เรียกว่า Artemisium เป็นช่องแคบ ถ้านำกองทัพเรือไปตั้งดักไว้ตรงนั้น ก็จะรับมือกับกองทัพเรือขนาดใหญ่ของ เปอร์เซียได้ ถ้าบล็อคกองทัพเรือได้ กองทัพบกก็จะอ่อนลง เพราะเสบียงส่วนหนึ่งมาทางเรือ และถ้าขาดเสบียง ทหารหลักล้าน ก็จะอยู่ยาก และเมื่อหน้าหนาวมาถึง ก็ต้องถอยทัพกลับไป Themistocles เป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ เขาไม่ได้มองแค่รับมือกับเปอร์เซีย แต่ยังหวังใช้โอกาสนี้ เพื่อให้เอเธนส์ ขึ้นมายิ่งใหญ่ในหมู่ชาว นครรัฐกรีก อีกด้วย อย่างที่คุยตอนแรกว่า กรีก ไม่ได้เป็นพวกเดียวกัน รบกันเป็นประจำ เดิมสปาร์ตา ต้องการนำทัพ แต่เมื่อเสนอทางนี้ สปาร์ตาซึ่งรบทางเรือไม่เป็น ก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำได้ ดังนั้นการรบนี้นอกจากจะรบกับเปอร์เซีย ยังถือโอกาสขึ้นเป็น ผู้มีอิทธิพลในหมู่ชาวกรีกอีกด้วย คือ ชนะทั้งศึกนอกและศึกใน สปาร์ตา ก็ไม่ยอม เมื่อเห็นว่า เอเธนส์ยกทัพขึ้นไปทางเหนือเพื่อยันเปอร์เซีย สปาร์ตาก็จะยกทัพขึ้นไปทางเหนือบ้าง โดยจะนำทัพ ไป รับมือกับเปอร์เซีย ในบริเวณที่เป็นคอขวดเช่นเดียวกัน ในบริเวณที่มีชื่อว่า Thermopylae เพราะแถวนั้นมีบ่อน้ำพุร้อนมาก ช่องแคบมาก พอที่จะให้เกวียนวิ่งคู่กันแค่สองคัน ผู้นำของสปาร์ตา ชื่อ Leonidas กองทัพเล็กๆสองกองทัพนี้ หนึ่งเป็นกองทัพบก หนึ่งเป็นกองทัพเรือ จึงเดินทางขึ้นเหนือ และเป็นสองกองทัพนี้ที่จะมีผลต่อประวัติศาสตร์ตะวันตก และประวัติศาสตร์โลก